ไส้ติ่ง มีลักษณะเป็นท่อตันที่แยกมาจากบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนต้น การอักเสบของไส้ติ่งเป็นผลมาจากการอุดตันของรูท่อไส้ติ่ง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ความรุนแรงของโรคจะมากขึ้นเรื่อย ๆ จนผนังไส้ติ่งเกิดการเน่าและแตกส่งผลให้เชื้อโรคแพร่กระจายเป็นอันตรายถึงชีวิต

ไส้ติ่ง คืออะไร

ไส้ติ่ง มีลักษณะเป็นท่อตันที่แยกมาจากบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนต้น โดยตำแหน่งจะอยู่บริเวณท้องน้อยด้านขวา การอักเสบเป็นผลมาจากการอุดตันของรูท่อไส้ติ่ง ซึ่งอาจจะเกิดจากอาหารที่กินเข้าไปกลายเป็นอุจจาระแข็งตัว หรือภาวะต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณดังกล่าว ทำให้แรงดันสูงขึ้น มีการสะสมของแบคทีเรียและเกิดการอักเสบในที่สุด นอกจากนี้ยังเกิดจากการอุดตันของสิ่งแปลกปลอม ก้อนเนื้องอก หนอนพยาธิได้เช่นกัน ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ความรุนแรงของโรคจะมากขึ้นเรื่อย ๆ จนผนังเกิดการเน่าและแตกส่งผลให้เชื้อโรคแพร่กระจายเป็นอันตรายถึงชีวิต

โดยตำแหน่งจะอยู่บริเวณท้องน้อยด้านขวา อักเสบเป็นโรคปวดท้องเฉียบพลันที่พบบ่อยที่สุด เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยจะพบมากในช่วงอายุ 12 – 60 ปี แต่ในอายุที่น้อยหรือมากกว่านี้ก็พบได้เช่นกัน โดยอาการแสดงระยะแรกของโรคนั้นมีความใกล้เคียงกับอาการปวดท้องเฉียบพลันอื่น ๆ ทำให้บ่อยครั้งผู้ป่วยมักได้รับการวินิจฉัยที่ล่าช้า มีภาวะแทรกซ้อนจนเกิดอันตรายมากขึ้นได้ การพบแพทย์เฉพาะทางตั้งแต่ระยะแรก ๆ และตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อแยกโรคจากอาการปวดท้องอื่น ๆ จึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้วินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องและเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที

อาการที่ต้องสังเกต

ในระยะแรกมักมีอาการนำด้วยเรื่องคลื่นไส้ พะอืดพะอม เบื่ออาหาร ต่อมาเริ่มมีอาการปวดท้อง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับอาการปวดท้องอื่น ๆ ทั่วไป บอกตำแหน่งได้ไม่แน่นอน ซึ่งระยะนี้อาจจะเกิดการวินิจฉัยผิดพลาดได้ โดยอาจจะมีอาการปวดแน่นบริเวณลิ้นปี่, ปวดถี่คล้ายโรคกระเพาะ, ปวดรอบสะดือตื้อ ๆ ตลอดเวลา, ปวดบีบ ๆ คลาย ๆ แบบท้องเสีย เหมือนยังถ่ายไม่สุด แต่ถ่ายไม่ค่อยมีอะไรออกมา ถ้าสังเกตดี ๆ อาการจะแตกต่างกับภาวะท้องเสียที่ถ่ายเป็นน้ำปริมาณครั้งละมาก ๆ ต่อมาจะเริ่มปวดบริเวณด้านล่างขวาขึ้นชัดเจน (แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจจะปวดบริเวณนี้เลยตั้งแต่แรก) การทานยารักษาตามอาการไม่สามารถทำให้หายได้ ต่อมาเมื่อมีการอักเสบมากขึ้นจะเริ่มเจ็บมากขึ้นเมื่อมีการขยับตัว เดิน ไอ จาม โดยผู้ป่วยจะมีลักษณะเดินตัวงอเพื่อหลีกเลี่ยงไส้ติ่งสัมผัสกับหน้าท้อง

ระยะแรก – ระยะเริ่มอุดตัน

จะมีอาการปวดท้องกะทันหันและเป็นอาการเกิดก่อนอาการอื่นๆ มักมีอาการเบื่ออาหาร จุกแน่นเกิดร่วมด้วยตามมา มักปวดตำแหน่งรอบสะดือ ปวดแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

ระยะต่อมา – ระยะบวมโป่งขึ้น

เชื้อโรคขยายลุกลามถึงชั้นนอกของไส้ติ่ง ปวดท้องมากขึ้น ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่เกิน 1 – 2 วัน ย้ายตำแหน่งมาปวดที่ท้องน้อยด้าน ขวา การเคลื่อนไหว-ไอ-จาม ทำให้ปวดมากขึ้น และอาจเกิดอาการท้องเสียหรือท้องผูก ในระยะนี้ก็ได้

ระยะรุนแรง อักเสบแตกกระจายในช่องท้อง

เมื่อปล่อยไว้จนอักเสบแตก (พบได้บ่อยประมาณ 20%) หากไม่ได้รับการผ่าตัดออก จะเกิดผลข้างเคียง แทรกซ้อนได้ 2 แบบ คือ

  1. ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อห่อหุ้มไส้ติ่งที่แตกนั้นไว้ ทำให้คลำเจอมีก้อนเจ็บที่ท้องน้อย และมีไข้ หรือ
  2. เชื้อโรคและหนองกระจายไปทั่วท้อง (เยื่อบุช่องท้องอักเสบ) อาจเข้ากระแสเลือด (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ) ซึ่งอันตรายถึงชีวิต (ตาย) ได้

ไส้ติ่ง

สัญญาณเตือนอาการไส้ติ่งอักเสบ

  • ปวดรอบๆ สะดือ อาการปวดท้องลักษณะนี้เป็นสัญญาณเตือนระยะเริ่มแรกของอาการที่ไส้ติ่งเริ่มอุดตัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณรอบๆ สะดือแบบเฉียบพลัน จุกแน่นท้อง เบื่ออาหาร
  • ปวดเสียดท้องข้างขวา อาการปวดท้องจะเลื่อนลงมาด้านล่างขวา ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวา และจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆ หากมีการเคลื่อนไหว เช่น เดิน ไอ จาม ในบางรายอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย
  • มีไข้ หนาวสั่น นอกจากอาการปวดท้องแล้ว จะมีอาการอย่างอื่นร่วม เช่น มีไข้ เนื่องจากเกิดการติดเชื้อ หรือในบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ร่วม และหากไม่ได้รับการผ่าตัดรักษา จะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด จนเสียชีวิตได้

การตรวจวินิจฉัยและการรักษา

เมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดท้องดังกล่าวนานเกิน 6 ชั่วโมง ควรรีบมาพบแพทย์เฉพาะทางที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างเร่งด่วน ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดย

  • ซักประวัติผู้ป่วย ตรวจร่างกาย ตรวจสัญญาณชีพ และตรวจเม็ดเลือด โดยส่วนใหญ่จะพบว่ามีปริมาณเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ ซึ่งบ่งบอกถึงอาการติดเชื้ออักเสบ ตรวจปัสสาวะหาเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว เพื่อแยกโรคอื่น ๆ รวมทั้งดูภาวะขาดสมดุลน้ำในร่างกาย ตรวจเอกซเรย์ ซึ่งอาจจะได้แก่
  • ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT – Scan
  • ตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้องด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound Upper Abdomen)
  • ตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

เพื่อแยกโรคอื่น ๆ หรือประกอบการวินิจฉัยและดูภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

การรักษาไส้ติ่งอักเสบ

  • ตรวจเลือด แพทย์จะทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจดูว่ามีปริมาณเม็ดเลือดขาวเยอะหรือไม่ หากเม็ดเลือดขาวมีปริมาณมากจะสามารถบ่งบอกถึงการติดเชื้อได้
  • ตรวจอัลตราซาวด์ หรือตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยเครื่อง CT SCAN

การผ่าตัดแบบเปิดและแบบส่องกล้อง ต่างกันอย่างไร

  • การผ่าตัดแบบเปิด เปิดผู้ป่วยจะมีบาดแผลบริเวณท้องน้อยด้านขวา ใช้ระยะเวลาพักฟื้นนาน
  • ผ่าตัดแบบส่องกล้อง จะมีแผลขนาดเล็กเพียง 2-3 แผล คือ แผลบริเวณใต้สะดือ บริเวณด้านซ้ายและด้านขวาของท้องน้อย หลังจากผ่าตัดผู้ป่วยจึงจะปวดแผลน้อย และเป็นการผ่าตัดที่ใช้กล้องส่องจึงทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

เป็นไส้ติ่งอักเสบไม่ผ่าตัดได้หรือไม่

การรักษาไส้ติ่งอักเสบจะมีเพียงการผ่าตัดเอาที่อักเสบออกเท่านั้น โดยต้องผ่าตัดให้เร็วที่สุด เพราะหลังจากเกิดการอักเสบแล้วอาจจะเน่า และแตกทะลุภายใน 24-36 ชั่วโมง หากไส้ติ่งแตกจะมีความเสี่ยงที่อาจทำให้เสียชีวิตสูง โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบและมีภาวะช็อกได้

บางคนอาจมีความเชื่อว่าการรับประทานเม็ดฝรั่ง หรือเม็ดของผลไม้อื่นๆ จะทำให้ไปอุดตัน และส่งผลให้เกิดอักเสบ แต่ความจริงแล้วสิ่งที่ไปอุดตันในไส้ติ่งนั้นส่วนใหญ่จะเป็นอุจจาระของเราเอง สาเหตุที่มาจากการรับประทานเม็ดของผลไม้มีความเป็นไปได้ แต่จะเกิดขึ้นได้น้อยมากนั่นเอง

ไส้ติ่งอักเสบเป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาโดยด่วนที่สุดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน หรือความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการเสียชีวิต ดังนั้นหากพบว่าตนเองมีอาการที่มีความเสี่ยงว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และการรักษาต่อไป

DID YOU KNOW

  1. ไส้ติ่งอักเสบคือการบวมและอักเสบติดเชื้อซึ่งอยู่ที่ตำแหน่งท้องน้อยด้านขวา
  2. อาการไส้ติ่งอักเสบมักเริ่มด้วยอาการปวดท้อง
  3. ตามด้วยอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก หรือท้องเสีย แล้วมีไข้ ท้องอืด
  4. ส่วนใหญ่แล้ว แพทย์สามารถวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบได้ด้วยประวัติปวดท้องและการตรวจร่างกาย
  5. ในบางกรณีที่จำเป็น อาจต้องตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องเพิ่มเติม
  6. การรักษาไส้ติ่งอักเสบคือการผ่าตัดโดยเร่งด่วน ไม่ใช่โรคที่รักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียว

 

อาการไส้ติ่งอักเสบเป็นโรคที่เกิดขึ้นโดยเฉียบพลันและไม่มีทางป้องกัน การรู้เท่าทัน หมั่นสังเกตความผิดปกติ และรีบพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการ จะช่วยให้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้องและหายได้ สิ่งสำคัญที่ควรพึงระลึกอยู่เสมอคือ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองโดยเด็ดขาด เพราะแม้อาการจะดีขึ้นชั่วคราว แต่อาจรุนแรงยิ่งกว่าเดิมจนยากที่จะรักษา

 

เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ที่มาของบทความ

 

ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  globalfreemasonry.com

สนับสนุนโดย  ufabet369