วิ่งออกกำลังกาย

การวิ่งจัดเป็นการออกกำลังกายประเภทแอโรบิกชั้นยอด หากคุณวิ่งอย่างถูกวิธี นอกจากจะดีต่อสุขภาพหัวใจแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและกล้ามเนื้อ และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังได้ด้วย

ข้อดีของการ วิ่งตอน ท้องว่าง
ช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมัน
คนส่วนใหญ่ที่เลือกวิ่งตอนท้องว่างเพราะเชื่อว่า เมื่อในร่างกายมีระดับคาร์โบไฮเดรตต่ำ ก็จะดึงเอาไขมันที่เก็บสะสมไว้มาใช้เป็นพลังงานได้มากขึ้น

วิ่งออกกำลังกาย

ร่างกายจะสามารถเผาผลาญไขมันได้ดีขึ้นนั่นเอง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นแค่ความเชื่อ เพราะมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งในปี 2015 ที่มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ชาย 10 คน พบว่า หลังจากที่กลุ่มตัวอย่างออกกำลังกายก่อนกินอาหารเช้า ร่างกายของพวกเขาสามารถเผาผลาญไขมันได้ต่อเนื่องนานกว่า 24 ชั่วโมงเลยทีเดียว

เมื่อนักวิจัยทีมเดิมทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างผู้หญิง 9 คนในปี 2017 ผลที่ได้ก็ออกมาเหมือนกัน คือ ร่างกายของกลุ่มตัวอย่างสามารถเผาผลาญไขมันได้มากขึ้น เนื่องจากการขาดคาร์โบไฮเดรตไปกระตุ้นยีนส์ที่ควบคุมการเผาผลาญไขมันให้ทำงานมากขึ้นนั่นเอง

ช่วยลดความต้องการพลังงานหรือแคลอรี่
หากคุณต้องการลดน้ำหนัก การวิ่งตอน ท้องว่าง ก็อาจตอบโจทย์ เพราะผู้เชี่ยวชาญเผยว่า การออกกำลังกายหลังจากอดอาหารอาจช่วยควบคุมปริมาณของพลังงานหรือแคลอรี่ที่ร่างกายต้องการได้

โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งในปี 2016 ที่มีผู้เข้าร่วมการทดลองเป็นผู้ชาย 12 คน พบว่า การวิ่งตอนท้องว่างทำให้พวกเขาต้องการพลังงานหรือแคลอรี่น้อยกว่าปกติยาวนานถึง 24 ชั่วโมง

ช่วยบรรเทาปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร
การวิ่งที่หักโหมเกินไป เช่น วิ่งไกลเกิน วิ่งนานเกิน มักทำให้คุณประสบปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เช่น ปวดเกร็งบริเวณช่องท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง

ข้อเสียของการ วิ่งตอนท้องว่าง
ส่งผลกระทบต่อระดับความเข้มข้นของการวิ่ง
ถึงแม้ร่างกายจะสามารถดึงไขมันมาเป็นพลังงานได้ แต่ระดับพลังงานที่ได้ก็ไม่คงที่ เพราะเมื่อคุณวิ่งจนพลังงานจากไขมันหมดเกลี้ยงแล้ว คุณก็จะรู้สึกเหนื่อย หรือรู้สึกหมดพลัง

โดยงานศึกษาวิจัยในปี 2010 ชิ้นหนึ่งที่มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ชาย 10 คน พบว่า การวิ่งตอนท้องว่าง ทำให้พวกเขาอึดน้อยลง และจากการรีวิวงานวิจัย 46 ชิ้นเมื่อปี 2018 ก็พบว่า การกินอาหารก่อนออกกำลังกาย ช่วยให้สามารถออกกำลังกายแบบแอโรบิกได้นานขึ้น

เพิ่มความเสี่ยงในการบาดเจ็บจากการวิ่ง
อย่างที่บอกไปแล้วว่า การวิ่งตอน ท้องว่าง อาจทำให้ร่างกายคุณมีพลังงานไม่เพียงพอ และทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลียได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ สมองของคุณยังต้องการน้ำตาลกลูโคส (Glucose) เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานให้กับกล้ามเนื้อ

ฉะนั้น พอคุณวิ่งตอนท้องว่าง สมองเลยได้รับพลังงานไม่เพียงพอ จึงอาจทำให้คุณออกกำลังกายได้ไม่ถูกต้อง หรือไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งรอบข้าง จนเกิดอุบัติเหตุในที่สุด

วิ่งตอนท้องว่าง อาจไม่เหมาะกับบางคน
คนที่มีสภาวะสุขภาพบางประการ เช่น คนที่เป็นโรคเบาหวาน ทั้งเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2 เพราะอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ได้ และความเสี่ยงนี้จะยิ่งเพิ่มขื้น เมื่อคุณใช้ยาควบคุมเบาหวาน เช่น อินซูลิน ฉะนั้นหากคนเป็นเบาหวานอยากวิ่งตอนท้องว่างจริง ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน และต้องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและหาอาหารรองท้องกินก่อนวิ่งด้วย

ไม่เหมาะสำหรับการลดน้ำหนักระยะยาว
การออกกำลังกายวิธีนี้ก็ไม่ได้เหมาะสำหรับใช้ลดน้ำหนักในระยะยาว

กินก่อนวิ่ง หรือวิ่งก่อนกิน แบบไหนดีกว่า
ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำให้คุณกินอาหารก่อนวิ่ง ร่างกายจะได้มีพลังงานเพียงพอและสามารถออกกำลังกายได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ หากคุณอยากวิ่งตอน ท้องว่าง ก็ควรวิ่งในระดับความเข้มข้นต่ำถึงปานกลางก็พอ อย่าหักโหมเกินไป และถ้ารู้สึกเวียนศีรษะเมื่อไหร่ ให้รีบหยุดพัก หรือเลิกวิ่งทันที

ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ globalfreemasonry.com