กำเนิดเกิด

อัษฎา อโรรา เด็กคนที่ 1 พันล้าน ล้านของอินเดียว ลืมตาดูโลกท่ามกลางความสนใจของสังคม เมื่อ 22 ปีก่อน

โรงพยาบาลในกรุงนิวเดลี เมื่อเวลาตี 5 วันที่ 11 พ.ค. ปี 2000 อัษฎา อโรรา ได้ถือกำเนิดเกิดขึ้น และหลังจากนั้นไม่กี่ช่วงอึดใจ เธอก็ได้รับการประกาศว่าเธอเป็น “ประชากรคนที่ 1 พันล้าน” ของประเทศอินเดีย และเหล่ารัฐมนตรี ในรัฐบาลขณะนั้น ต่างพากันแห่เข้ามาถ่ายรูป ของเด็กทารกคนดังกล่าว เด็กน้อยที่ สะท้อนปัญหาสังคม ประชากรล้นประเทศ

และการเกิดของ เธอในครั้งนี้ ส่งผลให้ประเทศอินเดีย มีจำนวนประชากร แตะพันล้านคน เทียบเท่าประเทศจีน ที่ในตอนนั้น เป็นประเทศที่มีประชากร เกินพันล้านแค่เพียงประเทศเดียว ผู้แทนกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ประจำอินเดีย ไมเคิล วลาสซอฟฟ์ ได้กล่าวถึง อัษฎา ในงานที่จัดขึ้นเพื่อฉลองเหตุการณ์นี้ ว่า

“เป็นทารกที่พิเศษ และไม่มีใครเสมอเหมือน”

ส่วนบรรดาเจ้าหน้าที่อินเดียต่างชี้ว่า การเกิดของเธอคือเครื่องเตือนใจให้คิดทบทวนถึงวิธีการควบคุมประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอินเดีย อย่างไรก็ตาม การถือกำเนิดของหนูน้อยอัษฎาได้กลายเป็นข่าวดังไปทั่วโลก ทำให้กองทัพผู้สื่อข่าว ซึ่งรวมถึงบีบีซี ตามไปรายงานเรื่องราวของเธอถึงบ้านพักในย่านนาจาฟการห์

ซึ่งเป็นเขตที่พักอาศัยของกลุ่มชนชั้นกลางรายได้ต่ำ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงนิวเดลี ยี่สิบกว่าปีต่อมา ทีมข่าวบีบีซีชุดเดิมได้เดินทางไปพบกับ “เด็กทารกผู้พิเศษ” คนนี้อีกครั้ง เพื่อดูว่าชีวิตของเธอเป็นอย่างไรในปัจจุบัน อัษฎา ซึ่งปัจจุบันมีอายุ 22 ปี เปิดประตูต้อนรับทีมข่าวในเช้าวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันเดียวที่เธอ มีเวลาว่างจากการทำงาน เป็นพยาบาลที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง

พลเมืองคนที่ 1 พันล้านของอินเดียบอกว่า เธอเลิกรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนพิเศษมานานแล้ว พร้อมเผยว่า คำมั่นสัญญาต่าง ๆ ที่บรรดานักการเมืองเคยให้ไว้ในตอนที่เธอเกิดไม่เป็นจริงเลย “ฉันอยากเรียนสายวิทย์เพื่อเป็นหมอ แต่พ่อแม่ไม่มีกำลังส่งฉันเรียนโรงเรียนเอกชน ฉันเลยต้องยอมรับสภาพและเรียนพยาบาลแทน”

อัษฎาเอาข่าวของเธอตามหน้าหนังสือพิมพ์ ที่พ่อแม่เก็บสะสมไว้มาให้ทีมข่าวบีบีซีดู นี่คือสิ่งที่ทำให้เธอได้รับรู้ว่าการเกิดของตัวเองเป็นเหตุการณ์ที่สังคมให้ความสนใจมากเพียงใด กระแสความสนใจในตัวเธอดำเนินต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยข่าวชิ้นหนึ่งรายงานว่าเธอได้รับเชิญไปงานเปิดตัวเว็บไซต์หนึ่งตอนอายุ 11 เดือน โดยมีรัฐมนตรีสาธารณสุขและตัวแทนของ UNFPA ไปร่วมด้วย

กำเนิดเกิด

อัษฎาเริ่มรู้ตัวว่าเป็นคนพิเศษตอนที่เธอเข้าโรงเรียน

“ฉันอายุประมาณ 4-5 ขวบตอนที่ได้ยินคำว่าเด็กคนที่ 1 พันล้านเป็นครั้งแรกในวันประชากรโลกของยูเอ็น ซึ่งตอนนั้นมีช่างภาพมาที่โรงเรียน…สำหรับเด็กมันเป็นเรื่องใหญ่มากที่ได้อยู่ในทีวี และฉันก็ชอบที่ได้เป็นจุดสนใจ” ความสนใจจากสื่อยังส่งผลดีต่อเธอและครอบครัวด้วย เพราะพ่อของเธอเป็นพนักงานขายของที่มีรายได้เดือนละไม่ถึง 2,000 บาท

และต้องดิ้นรนหาเงินส่งเสียลูกทั้งสองเรียนหนังสือ “ทุกปีเวลามีนักข่าวมาทำเรื่องของฉัน มันคือการประชาสัมพันธ์โรงเรียนให้แบบฟรี ๆ เพราะฉะนั้นโรงเรียนก็เลยไม่เก็บค่าเล่าเรียนของฉันตั้งแต่ชั้นปีที่สอง” อัษฎาเล่า อัษฎาเป็นเด็กเรียนดีและทำกิจกรรมเก่ง ตอนอายุ 16 ปีเธอได้รับรางวัล “นักเรียนมารยาทดี”

แม้จะโดดเด่นทั้งด้านการเรียนและกิจกรรม แต่ปัญหาทางการเงินของครอบครัวก็ทำให้อัษฎาต้องย้ายไปเรียนโรงเรียนรัฐบาลในชั้นปีที่ 11 “ฉันไม่มีความสุขที่โรงเรียนใหม่เลย และมันก็ส่งผลต่อเกรดของฉัน” เธอเล่า พร้อมบอกว่านี่คือจุดจบความฝันในการเป็นหมอของเธอ แม้ครอบครัวจะยากจน แต่อัญชนา อโรรา

แม่ของอัษฎาบอกว่า หลังจากลูกสาวคนนี้ ถือกำเนิดเธอรู้สึกมีหวังว่าความฝันต่าง ๆ ของพวกเขาจะกลายเป็นจริงได้อยู่ระยะหนึ่ง แม้ครอบครัวอโรรา จะไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรยืนยันคำกล่าวอ้างของตน แต่พวกเขาบอกว่า นางสุมิตรา มหาจัน รัฐมนตรีด้านสตรีและการพัฒนาเยาวชนในขณะนั้นให้คำมั่นขณะไปเยี่ยมที่โรงพยาบาล

ว่าจะให้อัษฎาได้รับ “การศึกษา บริการสุขภาพ และการโดยสารรถไฟฟรี” อัญชนาเล่าต่อว่า 2-3 เดือนหลังจากอัษฎาเกิด ส.ส.ชาฮิบ ซิงห์ เวอร์มา ผู้แทนราษฎรในท้องที่ได้ไปเยี่ยมที่บ้าน พร้อมรับปากจะช่วยหางานในภาครัฐให้พ่อของอัษฎา

“พวกเราพยายามติดต่อไปที่สำนักงานของเธอ (นางสุมิตรา มหาจัน) หลายครั้ง แต่ได้รับแจ้งว่าเธอไม่อยู่ทุกครั้ง”

ครอบครัวอโรราบอกว่า ความช่วยเหลือด้านการเงินเดียว ที่พวกเขาได้รับคือจาก UNFPA ซึ่งตั้งกองทุนมูลค่า 200,000 รูปี ให้ครอบครัวใช้เป็น ค่าเล่าเรียนระดับอุดมศึกษาของอัษฎาเมื่อเธออายุครบ 18 ปี โดยเงินส่วนนี้ ซึ่งภายหลังได้งอกเงยขึ้นมาเป็น 700,000 รูปี ได้ถูกนำไปจ่ายค่าเรียนพยาบาลบางส่วนของอัษฎา

นายเวอร์มาเสียชีวิตในปี 2007 ทีมข่าวบีบีซีจึงโทรติดต่อนางสุมิตรา มหาจัน ซึ่งวางมือจากงานการเมืองไปในปี 2019 หลังจากดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาอินเดีย เพื่อสอบถามเกี่ยวกับ คำกล่าวอ้างของครอบครัวอโรรา นางมหาจัน บอกว่าจำไม่ได้ว่า เคยให้คำมั่นสัญญาตามที่ครอบครัวอ้าง นอกไปจากเงินกองทุนของ UNFPA

“ฉันไปเยี่ยมครอบครัวนี้ไม่ใช่เป็นการส่วนตัว แต่ในฐานะรัฐมนตรี ฉันไม่ได้อยู่ในตำแหน่งนานหลังจากนั้น แต่ฉันก็ยังอยู่ในนิวเดลี และยังอยู่ในแวดวงการเมือง แต่ทางครอบครัวไม่เคยติดต่อฉันเลย หากพวกเขาเขียนจดหมายถึงฉัน ฉันจะให้ความช่วยเหลืออย่างแน่นอน แม้กระทั่งทุกวันนี้ ถ้าพวกเขาติดต่อมา ฉันก็จะพยายามช่วยเหลือ” เธอชี้แจงต่อบีบีซี

การเฉลิมฉลองการเกิดของประชากรคนที่ 1 พันล้าน ยังหมายถึงช่วงเวลาแห่งการคิดทบทวนอย่างจริงจัง เพื่อสื่อสารกับคนอินเดียว่า การเพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว อาจนำไปสู่ปัญหาในประเทศ เพราะจะทำให้รัฐบาล ไม่สามารถให้บริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง และทำให้การยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนเป็นไปได้ยาก

ขอบคุณแหล่งที่มา : bbc.com

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : globalfreemasonry.com